พาราเซตามอล (อังกฤษ: Paracetamol)
หรือ ชื่อทั่วไปที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาคือ อะซีตามิโนเฟน หรือ แอสเซตามิโนเฟน
(acetaminophen) เป็นยาบรรเทาอาการปวด (analgesics) ที่ไม่มีฤทธิ์ระงับอาการอักเสบเหมือนอย่างแอสไพริน (aspirin)และไอบูโปรเฟน(ibuprofen)
และ็ไม่ใช่ยาแก้อักเสบประเภทสเตอรอยด์ (steroid)
และมันก็ไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่ม เอ็นเซด
(non-steroidal anti-inflammatory drugs - NSAIDs)
ในปริมาณการใช้ปกติ พาราเซตามอลจะไม่มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองผนังกระเพาะ หรือมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือเป็นอันตรายต่อไต
ประวัติ
ในสมัยโบราณจะใช้เปลือกต้นหลิว (willow) เป็นยาแก้ไข้ (antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิวคือ ซาลิซิน (salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพริน(aspirin) ได้ และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือก ซิงโคน่า (cinchona) ใช้เป็นยารักษามาลาเลีย ได้ คือ ควินนิน (quinine) และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย
ในปี 1880sเกิดการขาดแคลนต้น ซิงโคน่า จึงได้มีการหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ดังนี้
พบ อะซิตานิไลด์ (Acetanilide) ในปี 1886
พบ ฟีนาซิติน (Phenacetin) ในปี 1887
ในขณะที่ ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลได้ในปี 1873 โดยปฏิกิริยารีดักชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในอะซิติก แอซิด (acetic acid) พาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั้งในปี1893ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอล ในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปี1899 พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์
ในปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรค เมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์ เกิดจากพาราเซตามอลซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์ และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์ มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย
ค.ศ. 1955 พาราเซตามอลวางตลาดในสหรัฐอเมริกา ชื่อการค้าว่า Tylenol
ค.ศ. 1956 พาราเซตามอลวางตลาดในประเทศอังกฤษ ชื่อการค้าว่า Panadol
credit :
http://www.vcharkarn.com/vcafe/64346