เครื่องมือทรมาน
เครื่องมือทรมานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เครื่อง จารีตนครบาล" ปรากฎหลักฐานตามกฎหมายตราสามดวง สันนิษฐานว่ามีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คำว่า "จารีตนครบาล" คือวิธีการไต่สวนจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาแผ่นดินให้รับสารภาพด้วยวิธีการ
ทรมานร่างกายให้เกิดความทุกข์ ทรมานเจ็บปวด เช่น ตอกเล็บ บีบเล็บ บีบขมับ ขึ้นขาหยั่ง เป็นต้น จารีตนครบาลได้ถูกยกเลิกอย่างเด็ดขาด ในปี พ.ศ.2451 (ร.ศ.127) โดยประกาศประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญายกเลิกการไต่สวนโดยจารีตนครบาล
ปล.ภาพโหดร้ายเกินที่จะลงได้ ขออภัย
1. ไม้บีบเล็บ
ลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง 2 อัน ปลาย 2 ข้างเป็นปุ่ม และเรียวลงไปตอนกลางโป่ง ยึดปลายข้างหนึ่งไว้ด้วยเชือกให้แน่น เมื่อเอาบีบลงตรงเล็บผู้ที่ถูกสอบสวนแล้ว ก็เอาเชือกรัดขันปลาย อีกข้างหนึ่ง ให้แน่นแล้วใช้ค้อนไม้เนื้อแข็งทุบลงไปตรงกลางที่วางเล็บไว้ ตามหลักฐานใช้สำหรับทรมานผู้ร้ายเวลาไต่สวนเพื่อให้รับสารภาพ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการ ขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) โดยประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451)
2. ไม้บีบขมับ
เป็นเครื่องมือทรมานทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มี 2 อัน ปลายข้างหนึ่งใช้เชือกผูกไว้ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งมีเชือกขันตรงกลางมีปุ่ม 2 ปุ่ม สำหรับใส่ตรงขมับทั้ง 2 ข้าง และขันเชือกอีกปลายด้านหนึ่งให้แน่น กดขมับให้เจ็บปวดจนกว่าจะให้ถ้อยคำเป็นที่เชื่อถือได้ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796(พ.ศ. 1978) เลิกใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) โดยประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ.2451)
3. ฆ้อนตอกเล็บ
ทำด้วยไม้แก่นปลายไม้ข้างหนึ่งแหลมใช้สำหรับใส่เข้าไประหว่างเล็บและเนื้อแล้วใช้ฆ้อนตอกไม้ปลายแหลมเข้าไปในเล็บปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) เลิก ใช้สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่5) โดยประมวลกฎหมาย ลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451)
4. หีบทรมาน
ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลักษณะคล้ายหีบศพขนาดพอดีกับตัวคน ที่ฝาปิดมีรูเจาะไว้ 2 รู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว สำหรับให้พอหายใจได้
เท่านั้น เมื่อเอาผู้ร้ายเข้าไปนอนในหีบ ปิดฝาแล้วจะพลิกหรือตะแคงตัวไม่ได้อาจวางนอน หรือวางยืนไว้กลางแดดก็ได้ ร้อนจนอึดอัดแทบขาดใจ
ตาย เป็นการทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใช้สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกฎหมาย "พระอัยการขบถศึก" จุลศึกราช 796
(พ.ศ.1978) เลิกใช้ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) โดยประมวลกฎ-หมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 (พ.ศ. 2451)
5. ไม้ขาหย่าง
เป็นเครื่องมือลงทัณฑ์ ซึ่งมักใช้เป็นโทษประจานให้ได้อาย มีลักษณะเป็นไม้กลม 3 ท่อน ยาวท่อนละประมาณ 1.60 เมตร ปลายมีเหล็กแหลมหุ้มสำหรับเสียบลงในดินให้แน่น ปลายอีกข้างหนึ่งใช้เชือกมัดรวมแล้วมัดผู้กระทำผิดไว้บนไม้สามขา หรืออาจแขวนห้อยไว้ไม่ให้เท้าหยั่งพื้นถึง มีเจ้าหน้าที่ตีฆ้องร้องป่าว มิให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง
6. เบ็ดเหล็ก
ใช้เพื่อลงทัณฑ์ผู้ต้องโทษโดยเกี่ยวเบ็ดเหล็กเข้าใต้คาง ปลายแหลมของเบ็ดเหล็กเสียบทะลุคางถึงใต้ลิ้น แล้วชักรอกดึงรั้งคางของผู้ต้องโทษให้ตัวลอยขึ้นจนปลายเท้าลอยพ้นจากพื้นดิน โดยไม่ให้คางหลุดจากเบ็ดเหล็ก เบ็ดเหล็กนี้ทำด้วยเหล็กท่อนขนาด 4 หุน ปลายแหลมเหมือน เบ็ดตกปลา ยาวประมาณ 16 นิ้ว เริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตรงกับสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จุลศักราช 796 (พ.ศ. 1978) ซึ่งปรากฎในกฎหมายพระอัยการขบถศึก และเลิกใช้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา
7. ตะกร้อลงโทษ (ตะกร้อช้างเตะ)
เป็นเครื่องมือลงทัณฑ์ มีลักษณะทรงกลมทำด้วยหวายเส้นสานกันห่างๆ หวายที่สานมีด้วยกันแผงละ 13 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร มีช่องขัดเสียบเหล็กแหลมลงไปช่องละ 6-9 ตัว วิธีการลงทัณฑ์จับคนโทษ ยัดใส่ตะกร้อแล้วใช้ช้างเตะให้เลียดกลิ้งไปกับพื้นเหล็กแหลมจะทิ่มแทง
ตามร่างกายให้ได้รับความเจ็บปวด ตะกร้อที่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ตามหลักฐานได้มาจากคุกเมืองโคราชหรือเรือนจำกลางนครราชสีมาปัจจุบัน
8. หวาย
เป็นเครื่องมือทรมานในการไต่สวนคนร้ายที่ถูกกล่าวหาให้รับสัตย์ (รับผิด) เริ่มใช้สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเลิกใช้สมัยรัชกาลที่ 5
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439) หวายที่ใช้ลงโทษผู้ต้องขัง มี 3 ลักษณะ
8.1 หวายแช่น้ำแสบ (น้ำเกลือ)
ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.10 เมตร ที่ด้านมือจับควั่นด้วยเปลือก
หวายเส้น วิธีการทรมาน จับคนร้ายมัดหันหน้าติดพื้นหรือนอนคว่ำหน้ากับพื้นราชทัณฑ์จะใช้หวายแช่น้ำแสบ
(น้ำเกลือ) ที่เตรียมเอาไว้ หวดเฆี่ยนบนหลังคนร้ายตามกำหนดการเฆี่ยนใช้ นับเป็นยก "ยกหนึ่ง" หมายถึง
30 ขวับ จนกว่าคนร้ายจะรับสัตย์ (รับผิด)
8.2 หวายกระชากหนังกำพร้า
ทำด้วยหวาย 3 เส้นมัดรวมกัน แต่ละเส้นวันเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ
1.25 เมตร ครึ่งปลายของหวายหุ้มด้วยเปลือกหวายขัด เพราะเปลือกหวายขัดนี่เอง เวลาหวดลงหวายไปแต่ละ
ทีหนังกำพร้าจะหลุดติดออกมาเป็นริ้วๆ การนับก็เป็น "ยก" เช่นเดียวกับ หวายแช่น้ำแสบ
8.3 หวายสามแนว
ทำด้วยหวาย 3 เส้น แต่ละเส้นวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 เซนติเมตรยาวประมาณ 1.25 เมตร
โดยเอาหวาย 3 เส้นมัดรวมกัน แค่ครึ่งหนึ่งของตัวหวายไว้เป็นที่จับ อีกครึ่งหนึ่งของส่วนปลายปล่อยเปลือย
การเฆี่ยนตีหรือโบยด้วยหวายสามแนวเหมือนกับหวายแช่น้ำแสบ และหวายกระชากหนังกำพร้า
ที่มา: พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์